(Principle of choosing Plastic Cushioning)
ทริคการใช้วัสดุกันกระแทกกับสินค้าที่ "ขนาดกล่องไม่พอดีกับตัวสินค้า"
-------------------------------------------------
การแพ็กสินค้าที่มีขนาดหลากหลายลงในกล่องพัสดุนั้นมีหลายปัจจัยที่ต้องระวัง นอกจากตัวสินค้าจะไม่พอดีกับกล่องแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นเช่น รูปทรงของตัวสินค้าแต่ละชิ้น การแตกเสียหายง่ายของสินค้านั้น ไปจนถึงวิธีเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เป็นต้น ในส่วนของ "วัสดุกันกระแทก" มีให้เลือกใช้หลากหลาย ทั้งตัววัสดุ (พลาสติก กระดาษ โฟม ฯลฯ) ในราคาที่หลากหลายแตกต่างกัน ... ซึ่งวัสดุหลักที่นิยมเลือกใช้คือ “พลาสติกกันกระแทก” หรือ “Air Bubble”
การแพ็กสินค้าลงกล่องนั้น ไม่ได้แค่ห่อ Air Bubble เสร็จแล้วก็ใส่กล่อง ปิดเทป แล้วส่งขนส่งได้เลย แต่แท้จริงแล้วยังมีหลักการห่อที่ทำให้การแพ็คสินค้ามีความปลอดภัย สมบูรณ์ อย่างที่บริษัทรับจ้างแพ็กนิยมทำกัน ซึ่งในบทความนี้ เราจะกล่าวถึงหลักการแพ็กสินค้าโดยใช้วัสดุพลาสติกเป่าลม “แอร์บับเบิ้ล” ในรูปทรงต่าง ๆ
-------------------------------------------------
รู้จักวิธีการห่อสินค้าเพื่อกันกระแทก
วิธีการกันกระแทกในกล่องพัสดุ 5 ข้อที่ต้องทำความเข้าใจเบื้องต้น มีดังนี้
“ ห่อสินค้า ” เพื่อกันรอยหรือกันกระแทก
“ อุดช่องว่าง ” ระหว่างตัวสินค้าและผนังกล่องด้านใน
“ รองพื้นกล่อง ” วิธีนี้จะใช้กรณีสินค้ามีความแตกง่าย หรือ มีน้ำหนักมาก
“ คั่นกลาง ” ระหว่างสินค้าที่อยู่ในกล่องเดียวกันเพื่อไม่ให้ชน หรือ ปะปนกัน
“ บุผนังกล่อง ” ผนังกล่องมี 4 ด้าน (ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง) กรณีสินค้าแตกง่าย เรียงกันเป็นทรงเหลี่ยม และ มีช่องว่างในกล่องพอสมควร
วิธีที่ใช้กับสินค้าทั่วไปส่วนมากจะเป็นวิธีที่ 1 และ 2 ในขณะที่วิธีที่ 3 4 และ 5 จะใช้กับสินค้าที่ต้องการกันกระแทกมากขึ้น การเลือกใช้พลาสติกกันกระแทก จึงจะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้าที่ต้องการจะแพ็ก
-------------------------------------------------
การเลือกใช้งานพลาสติกกันกระแทก
สำหรับพลาสติกกันกระแทก หรือ แอร์บับเบิ้ล ชนิดทั่วไปที่จำหน่ายตามร้านกล่องพัสดุนั้น จะเหมาะกับสินค้าน้ำหนักเบา และต้องการกันรอยขีดข่วนบนตัวสินค้า จึงเหมาะกับการนำมาใช้ห่อด้วยวิธีการที่ 1 คือการห่อเพื่อกันรอยเป็นหลัก ซึ่งหากต้องใช้แอร์บับเบิ้ลนี้ กับวิธีการห่ออื่น ๆ จะต้องใช้ในปริมาณมาก การกันกระแทกจะยังไม่เพียงพอหากตัวสินค้ามีน้ำหนัก 500 กรัมขึ้นไป การเลือกใช้พลาสติกกันกระแทกรูปแบบอื่นเสริม หรือใช้ทดแทน จะมีความเหมาะสมกว่า
บางเวลาที่เราสั่งสินค้าออนไลน์ เราจะเห็นพลาสติกกันกระแทก หรือ แอร์บับเบิ้ล รูปทรงแปลกๆมากับสินค้าให้เราแปลกใจกันบ้าง ส่วนใหญ่จะเป็น พลาสติกกันกระแทก แบบใช้เครื่องเป่าลมขึ้นรูป จะมีหลายรูปทรง แต่ละทรงจะมีความฟู ความบาง มีลวดลายใหญ่เล็กแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมกับการแพ็กสินค้ารูปแบบต่าง ๆ
พลาสติกกันกระแทก แบบเป่าลม - แอร์บับเบิ้ลนี้จะใช้เครื่องเป่าลมในการเป่าขึ้นรูปจากฟิลม์พลาสติกบางให้เป็นรูปทรงที่หน้ากว้าง 40 ซม. ความยาวไม่จำกัด (ขึ้นอยู่กับความยาวม้วนฟิลม์) แอร์บับเบิ้ลแบบสำเร็จรูปนี้ จะสามารถฉีกตามรอยปรุ ความยาวตามที่ต้องการใช้ได้ โดยไม่ต้องใช้กรรไกรตัดแบ่งเป็นชิ้น ๆ เหมือนกับแอร์บับเบิ้ลทั่วไป
ถุงลมพลาสติก แบบเป่าลม - ในส่วนของถุงลมพลาสติกเพื่อเติมเต็มในกล่อง จะมีหลายชื่อเรียก เช่น Air bag, Air porch หรือ Air pillow จะเป็นพลาสติกขนาด 20 x 15 ซม. ไปจนถึง 20 x 25 ซม. โดยถุงจะเก็บลมไว้ตามขนาดเป็นทรงก้อน หรือทรงหมอนเพื่อใช้อุดช่องว่างในกล่องเป็นหลัก ไม่สามารถใช้ห่อพันสินค้าได้
ถุงลมกันกระแทก 1 ถุง จะมีต้นทุนต่อปริมาตรถูกกว่าแอร์บับเบิ้ลทั่วไป เนื่องจากมีเนื้อพลาสติกน้อย แต่มีความเหนียวมาก สามารถทนแรงกดได้ตั้งแต่ 20 - 50 กก. (ขึ้นอยู่กับประเภทเนื้อพลาสติก)
ในกรณีสินค้าประเภทเสื้อผ้าหรือยางนั้น ไม่จำเป็นจะต้องใช้วิธีการ “ห่อ” ตัวสินค้าเพราะสินค้าจะไม่แตกเสียหายแน่นอน แต่ควรจะใช้การ “อุดช่องว่าง” โดยใช้ถุงลมกันกระแทกอัดลงไปให้เต็มกล่อง เพื่อไม่ให้สินค้าเด้งไปมาภายในกล่อง
—-------------------------------------------------
ทำไมตัวสินค้าประเภทที่ “ไม่มีการแตกเสียหายอยู่แล้ว” ยังต้องใส่ถุงลมกันกระแทกให้เต็มกล่อง
ในการแพ็กสินค้าประเภทที่ “ไม่มีการแตกเสียหายอยู่แล้ว” ยังคงต้องใส่ถุงลมกันกระแทกให้เต็มกล่อง โดยมี 2 เหตุผล
Extra protection - ในกล่องที่ช่องว่างถูกเติมเต็มโดยถุงลมกันกระแทก เปรียบเสมือนกับตัวสินค้านั้นได้ถูกยึด (Fixed) ไม่ให้เคลื่อนไหวอยู่ภายในกล่อง ช่วยให้สินค้าไม่กระโดดเด้งไปมาแม้มีการเขย่ากล่อง อีกทั้งตัวกล่องจะมีความแข็งแรงต่อการกระทบกับกล่องพัสดุอื่นในระหว่างขนส่ง กล่าวคือ กล่องจะไม่บุบเสียหายง่ายเมื่อเทียบกับกล่องที่ข้างในมีความ “กลวง” “โปร่ง”
First Impression - เมื่อกล่องสินค้าถูกส่งถึงมือผู้รับ คนเราโดยธรรมชาติจะมีการเขย่าเล็กน้อยเพื่อจินตนาการถึงสินค้าภายในกล่อง จังหวะนี้เองที่หากมีเสียงแสดงถึงความ “กลวง” “โปร่ง” หรือการเลื่อนกลิ้งไปมาของสินค้าด้านใน อาจส่งผลถึงภาพลักษณ์ในเชิงลบต่อตัวสินค้าไม่มากก็น้อย ตั้งแต่ยังไม่เปิดกล่อง
ด้วยเหตุผล 2 ข้อด้านบน จึงทำให้การใช้ถุงลมกันกระแทกมีความคุ้มค่า เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันความเสียหายในระหว่างการขนส่งแล้ว ยังอาจช่วยส่งเสริมถึงภาพลักษณ์ของตัวสินค้าอีกด้วย ซึ่งโดยทั่วไป ถุงลม 1 ถุง จะมีราคาที่ต่ำมาก จึงคุ้มค่าต่อการลงทุนที่จะใช้แพ็กสินค้าให้เต็มกล่อง
-------------------------------------------------
การประยุกต์ใช้ Air Bubble และ Air Bags ชนิด ออนดีมานด์ กับการขนส่งพาเลท (Palletizing purpose)
วิธีการจัดกล่องสินค้าให้เต็มพาเลทตามในรูป เริ่มเป็นที่นิยมใช้กันมากขึ้นในวงการโลจิสติกส์ เนื่องจากสามารถจัดทรงกลุ่มสินค้าให้พอดีกับขนาดของพาเลท ซึ่งทำให้จัดวางพาเลทขึ้นตู้คอนเทนเนอร์สินค้าหรือขึ้นชั้นได้อย่างมีระเบียบ ลดการใช้พาเลทหลายขนาด
จุดสำคัญของวิธีการประยุกต์ใช้ Air Bubble, Air Bag ในงานโลจิสติกคือ ต้องเลือกใช้ Air bubble ที่มีรูปแบบตรงกับจุดประสงค์การใช้งาน และจำเป็นต้องเลือกใช้พลาสติกจากผู้ผลิตที่มีคุณภาพดี มีมาตรฐานสูง (Air Bag แต่ละลูกควรทนแรงกดทับได้ประมาณ 30 กก. ขึ้นไป) เนื่องจากหลังจากมีการขึ้นรูปถุงพลาสติกแล้ว เมื่อเวลาผ่านไป ลมจะค่อย ๆ ซึมออกมาที่ละน้อย ถ้าเป็นพลาสติกคุณภาพทั่วไป (HDPE) ลมจะซึมออกเร็วกว่าพลาสติกที่มีคุณภาพดี (LDPE) ซึ่งหากลมจากพลาสติกกันกระแทกนี้ซึมออกเร็ว ก็อาจจะทำให้ตั้งสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งหรือบนชั้น เอียงหรือล้มลงมาได้
-------------------------------------------------
การเลือกใช้เครื่องเป่าลมแบบทำใช้เองหน้างาน
การเลือกใช้เครื่องเป่าลมแบบทำใช้เองหน้างาน หรือ เครื่องเป่าลม On-Demand ก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราะทำให้สามารถขึ้นรูป Air bubble ที่มีลมเต็มพร้อมใช้งานทันทีตั้งแต่แรกเริ่มโดยไม่ต้องขึ้นรูปไว้ล่วงหน้า จึงช่วยประหยัดพื้นที่จัดเก็บ และไม่เสียเวลาในการขนย้าย เป็นต้น
อย่างไรก็ดี เครื่องเป่าลมแบบ On-Demand ก็เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า จึงจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาและเปลี่ยนอะไหล่อยู่เสมอ (โดยเฉพาะใบมีด และสายพานขับเคลื่อน) หากเกิดการขัดข้อง ก็อาจจะทำให้หน้างานแพ็กกิ้งเกิดอุปสรรค จึงควรเลือกใช้เครื่องเป่าลมที่มีมาตรฐานและมีบริการหลังการขายที่ดีเพียงพอกับโปรเจคงานนั้น ๆ
-------------------------------------------------
ในส่วนของพลาสติกกันกระแทกแบบเป่าลมเมื่อเทียบกับวัสดุกันกระแทกแบบอื่น ๆ นั้น จะมีต้นทุนที่ถูกกว่าและสามารถประยุกต์ใช้งานได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับ วัสดุกันกระแทกแบบกระดาษ แต่สินค้าบางอย่างก็ยังจำเป็นต้องใช้กันกระแทกที่เป็นกระดาษเท่านั้น และวัสดุกันกระแทกแบบกระดาษเองก็มีหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน เพื่อจุดประสงค์เหมือน ๆ กัน คือ “ห่อสินค้า อุดช่องว่าง รองพื้นกล่อง คั่นกลาง และบุผนังกล่อง” ซึ่งในบทความถัดไป จะมากล่าวถึงกระดาษกันกระแทกชนิดต่าง ๆ และ Case Study ต่าง ๆ ที่มีการใช้งานจริงในบริษัท
—-------------------------------------------------
สนใจดูสินค้านวัตกรรมอื่นๆ ซื้อสินค้า หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่:
Line ID: @aqpack, https://line.me/ti/p/~@aqpack
โทร: 02-463-4116 ถึง 7, 06-1513-5888
อีเมล: Prontima@grand-ss.com (Contact Center)
#สินค้านวัตกรรม #สินค้าออนดีมานด์ #ondemand #กล่องกระดาษลูกฟูกขนาดตามสั่ง #พลาสติกกันกระแทก #แอร์บับเบิ้ล #airbubble #กระดาษกันกระแทก #เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทแบบมือถือ #เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทแบบตั้งโต๊ะ #เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทอเนกประสงค์ #GSS #GrandSolutionSupply #แกรนด์โซลูชั่นซัพพลาย #เทปกาวกระดาษใช้น้ำลูบ #เทปกาวกระดาษมีเส้นใย #เทปกาวกระดาษสำหรับติดกล่อง #เทปกาวกระดาษ เสริมความแข็งแรง #เครื่องทาน้ำตัดเทปกาวกระดาษ #เครื่องทาน้ำเทปกาวกระดาษ #ระบบเทปกาวกระดาษติดกล่อง #ระบบเทปกาวกระดาษใช้น้ำ #ระบบเทปกาวกระดาษติดกล่องจำนวนมาก #ระบบเทปกาวกระดาษ ใช้ในคลังสินค้า #ระบบเทปกาวกระดาษแพ็กสินค้า
Comments